หน่วยศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้ / Research on Learning Unit

        หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ (Research on Learning Unit) มีหน้าที่ศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิธีการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษา ซึ่งมีโรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นห้องปฏิบัติการในการเรียนรู้ ทดสอบและวิจัยเพื่อนำผลจากการค้นคว้าทดลองไปปรับปรุงพัฒนาการสอนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับ อุดมศึกษา ปีการศึกษา 2565 หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ได้ดำเนินงานตามพันธกิจ โดยมีภารกิจหลัก 3 ด้าน ประกอบด้วย

1. การวิจัยและพัฒนา

        หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ เป็นหนึ่งในฝ่ายของโรงเรียนสุรวิวัฒน์ฯ ซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาค้นคว้าการวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนโดยมีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Laboratory)ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์(Computer and Robotics) สำหรับครู คณาจารย์ และบุคลากร ในการค้นคว้า ทดลอง เพื่อผลิตองค์ความรู้และพัฒนาวิธีการสอนรูปแบบใหม่ เป็นการบูรณาการร่วมกัน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษา บนพื้นฐานคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ทางหน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน ค้นคว้า และส่งเสริมให้ครู คณาจารย์ บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ วิจัยควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อนำผลผลิตจากการวิจัยไปต่อยอดเผยแพร่ต่อประชาคม การดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนนั้น ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการดำเนินการวิจัยจากการวางแผนวิธีการดำเนินการวิจัยร่วมกันก่อนดำเนินการวิจัย หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้มีนักวิจัยที่ให้คำปรึกษา แนะนำ รวมทั้งการวางแผนระเบียบวิธีวิจัยให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิชา


การเผยแพร่ผลงานวิจัย

ครูรัชนิกร กุมรัมยะกุล

ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สาขาวิชาฟิสิกส์)

เผยแพร่วันที่ : 25 พฤศจิกายน 2566

การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสารสนเทศจำลอง ในหัวข้อคลื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5

The Study of the Effectiveness of Teaching and Learning Management Using Simulation Information Communication in the Topic of Waves among the Eleventh Grade Students at Surawiwat School.

ดร.วิฑูรย์ ตั้งวัฒนกุล

ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สาขาวิชาฟิสิกส์)

เผยแพร่วันที่ : 25 พฤศจิกายน 2566

การศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

The Study on Misconceptions about the Solar System among the Ninth Grade Students who Received Inquiry-Based Learning Management

ดร.มนรวัส รวยธนพานิช เอี่ยมทอง

ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สาขาวิชาเคมี)

เผยแพร่วันที่ : 15 – 19 กรกฎาคม 2567

เรื่อง ขมิ้น ที่มีต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาเส้นทางการเป็นนักวิทยาศาสตร์และ นักนวัตกร

The Learning Outcomes of Laboratory Practical Management in the Topic of Turmeric on the Learning of the Tenth Grade Students in the Subject of “The Scientist and Innovator Pathway.”

ดร.พิไลลักษณ์ ศิริสุรวงศ์

ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สาขาวิชาเคมี)

เผยแพร่วันที่ : 15 – 19 กรกฎาคม 2567

การศึกษาสารประกอบเชิงซ้อนของ โลหะทรานซิชันโดยใช้ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน ในหัวข้อเรื่อง The Colorful Flower of Transition metal complex.

The Study of the Complex Compounds of Transition Metals through Fractional Distillation Experiments in the Topic “The Colorful Flower of Transition Metal Complexes.”

นางสาวกิติยากร เนินไธสง และ นางสาวสุริชา ฐานวิสัย

นักวิจัยการศึกษา หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้

เผยแพร่วันที่ : 10 – 12 พฤษภาคม 2567

Impact of ChatGPT and the Capability to Critically Use Technological Creativity on English Proficiency of High School Students

ครูธัญนัชญ์ การินทร์ และ ผศ.ดร.ชิตพงศ์ เวชไธสงค์

งานแนะแนว

เผยแพร่วันที่ : 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2567

ความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุรวิวัฒน์ ปีการศึกษา 2566

The Anxiety during University Entrance Examinations among the Twelfth Grade Students at Surawiwat School in the Academic Year 2023.

2. การพัฒนาศักยภาพทางวิชาชีพ

        หนึ่งในกุญแจสำคัญ (Key Result) ในการขับเคลื่อนโรงเรียนสุรวิวัฒน์ สถานศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษาให้ประสบความสำเร็จ คือ การส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรในทุกมิติอย่างเต็มศักยภาพ

       การประเมินครู Teacher Assessment

        หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้กำหนดให้มีการประเมินการเรียนการสอนของครูโดยนักเรียนเป็นผู้ประเมิน เป็นสิ่งที่ช่วยสะท้อนผลการปฏิบัติงานสอนให้กับครูเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน อันจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนโดยการประเมินแบ่งเป็น 5 ด้าน ดังต่อไปนี้

       ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

        การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้เกิดขึ้นภายในองค์กร นับว่าเป็นเรื่องมีความสำคัญและท้าทาย ซึ่งหน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ เห็นถึงศักยภาพของครูผู้สอนของโรงเรียนสุรวิวัฒน์ทั้งด้านสมรรถนะ ด้านองค์ความรู้ และด้านค่านิยมเชิงวิชาชีพ ปีการศึกษา 2566 หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ร่วมกับฝ่ายวิชาการ ได้จัดให้มีการนิเทศการสอนภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งครูทุกคนต้องดำเนินการนิเทศและรับการนิเทศ จำนวน 2 ครั้งต่อภาคการศึกษารวมถึงการนิเทศของผู้บริหารและผู้ที่ได้รับมอบหมาย จำแนกมิติของการประเมินเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วยด้านสภาพทั่วไปของการจัดการเรียนการสอนด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และด้านบุคลิกภาพ

3. การบริการสังคม

        โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้พยายามพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ การศึกษาที่มุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อตอบแทนสังคมเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Social Enterprise หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการดำเนินการที่มุ่งเน้นเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงการสร้างรายได้ไปพร้อม ๆ กัน เป็นกิจการที่มีการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อสังคมแบบยั่งยืนมากกว่าเพื่อแสวงหาผลกำไร โดยให้สอดรับตามภารกิจของมหาวิทยาลัยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่
        1) การจัดการเรียน การสอน
        2) การศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย
        3) การให้บริการวิชาการ
        4) การปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนา เทคโนโลยี
        5) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ ใช้เพื่อคงไว้ซึ่งความรู้ท้องถิ่น
นอกจากนี้ยังคำนึงถึงรูปแบบการวิจัยนวัตกรรม และการจัดการศึกษา ที่เหมาะสมกับนักเรียนในศตวรรษที่ 21ในปีการศึกษา 2566 หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้ ได้เน้นมุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคโนโลยีเป็นแพลตฟอร์มที่สนับสนุน และสร้างการเรียนรู้ ตลอดชีวิต

       บทเรียน e-Courseware

        บทเรียน e-Courseware บทเรียนอีเลิร์นนิง (e - Courseware) เป็นสื่อการเรียนรู้ชนิดวิดีโอที่ทางโรงเรียนสุรวิวัฒน์ฯ มีโครงการให้ทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) และยังเป็นการ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ในปี 2566 หน่วยศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้สถานศึกษาค้นคว้าการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษาได้จัดให้มีโครงการสนับสนุนวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบอีเลิร์นนิงบนระบบ (e - Courseware) เพื่อเป็นสื่อในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เหมาะสม ในศตวรรษที่ 21 มีสื่อการเรียนรู้ที่ได้รับทุนสนับสนุน 4 ทุน ดังนี้